วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติและความเป็นมาของแผนที่

ประวัติและความเป็นมาของแผนที่

ประวัติและความเป็นมาของแผนที่
ความหมายของแผนที่
แผนที่ คือ การนำเอารูปภาพของสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวของ มาย่อส่วนให้เล็กลง แล้วนำมาเขียนบนกระดาษหรือวัตถุที่แบนราบ สิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลกประกอบด้วยสิ่งที่เกิดเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลกแผนที่เป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่ง ที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการดำเนิน   กิจการงานต่างๆ ตลอดจนการศึกษาหาความรู้ทั้งในด้านวิชาการ และในด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน ตั้งแต่โบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน  สิ่งที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของผิวโลกทั้งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น โดยแสดงลงในพื้นราบเป็นกระดานหรือวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งที่แบนราบ ด้วยการย่อส่วนให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการ  การนำเอาภาพของสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลกหรือบางส่วน ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น มาย่อลงบนกระดาษหรือวัตถุที่แบนราบตามขนาดที่ต้องการ
มนุษย์รู้จักบันทึกสิ่งต่างๆ ลงบนแผนที่มาตั้งแต่สมัยโบราณ ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ ความสามารถในการทำแผนที่เป็นสัญชาติญาณอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ พฤติกรรมที่แสดงออกทาง แผนที่มีมานานแล้ว พวกเอสกิโมรู้จักการทำแผนที่ด้วยการใช้ไม้สลักติดลงบนหนังแมวน้ำแสดงแหล่งล่าสัตว์ ตกปลา ชาวเกาะมาร์แชลใช้เปลือกหอยแทนเกาะก้านมะพร้าว  แทนเส้นทางการเดินเรือละบริเวณที่มีคลื่นจัด พวก Nomad ที่เร่ร่อนทะเล
ทรายตามที่ต่างๆ จะใช้โดยขีดบนผืนทราย
แผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือ แผนที่ของชาวเมโลโปเตเมีย เมื่อ 2,300ปี ก่อนปีพุทธศักราช  ทำด้วยดินเหนียว แสดงกรรมสิทธิที่ดินแปลงหนึ่ง ขุดพบที่เมืองกาเซอรน์ บริเวณลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณลักษณะและรายละเอียดบนแผนที่แสดงบริเวณลุ่มน้ำซึ่งอยู่ระหว่างหุบเขา สัญลักษณ์ของภูเขาคล้ายเกล็ดปลาและยังบอกทิศทางไว้ที่ขอบของแผนที่ด้วย
สมัยกรีกโบราณ เป็นผู้วางรากฐานในการทำแผนที่ เริ่มด้วยการพิสูจน์ปี พ.ศ.323 ว่าโลกกลม และมีการวัดขนาดของโลกโดย อีแรโตสเตนีส (Eratosthenes) โดยใช้หลักทางคณิตศาสตร์ โดยสร้างเส้นสมมุติที่เรียกว่า เส้นขนานและเส้นเมอริเดียน
ต่อมาปี พ.ศ. 370 ปี ปโตเลมี (Claudius Ptolemy) นำเอาผลงานของอีแรโตสเตนีสมาปรับปรุงกำหนดค่ามุมของเส้นขนานและเว้นเมอริเดียน ต่อมาแผนที่ของปโสตเลมีได้หายสาบสูญไปเป็นเวลาถึง 1,500 ปี
การอ่านแผนที่ คือ การค้นหารายละเอียดบนภูมิประเทศ ซึ่งรายละเอียดบนภูมิประเทศ หมายถึงสิ่งต่างๆ บนผิวโลก ที่ปรากฏตามธรรมชาติ และสิ่งที่เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น
วัตถุประสงค์ของการศึกษาแผนที่
1. ศึกษาให้รู้จักรูปพรรณสัณฐานของรูปหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายโลกมากที่สุด ศึกษารูปทรงและขนาดของโลกโดยละเอียดถี่ถ้วน ทำให้เราทราบว่าโลกไม่ได้กลม แต่เป็นรูปทรงรีมีแกนยาวทั้งสองไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลก
2. ศึกษาให้รู้จักกำหนดตำแหน่งๆ ลงบนพื้นโลก หรือให้รู้จักสิ่งต่างๆที่อยู่บนพื้นโลก จากพื้นผิวโค้งถ่ายทอดไปยังพื้นผิวราบ
3. ศึกษาให้รู้จักการแสดงพื้นที่ของผิวโลก ตลอดจนรายละเอียดทั้งหมด โดยแสดงถึงสิ่งต่างๆ ที่ได้กำหนดตำแหน่งรายละเอียดไว้บนพื้นผิวโลกที่มีลักษณะผิวโค้งลงบนพื้นราบ
ความสำคัญของแผนที่
แผนที่เป็นสิ่งที่แสดงให้ทราบทั้งลักษณะของภูมิประเทศและการกระจายของกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ อีกด้วย เช่น  ด้านคมนาคม วิศวกรโยธาซึ่งทำงานเกี่ยวกับการสร้างทางหลวงการก่อสร้าง จำเป็นต้องมีแผนที่ ซึ่งแสดงถึงลักษณะภูมิประเทศ ปริมาณและชนิดของดินและหินตามบริเวณเส้นทางที่จะสร้าง การกระจายของน้ำฝน ตลอดทั้งอุณหภูมิของแต่ละฤดูกาล สภาวะการณ์ดังกล่าวและล้วนแต่มีผลต่อการพิจารณาในการสร้างทางหลวงว่าจะดำเนินการและใช้วัตถุต่างๆในการก่อสร้างอย่างไร
ด้านสาธารณประโยชน์ เช่น เพื่อใช้ในการวางแผนสร้างสถานีผลิตกระแสไฟฟ้าและการวางสายไฟ การประปา สายโทรศัพท์ และแหล่งที่จะทิ้งขยะมูลฝอย บริษัทประกันภัยก็ต้องใช้แผนที่เพื่อจะได้ศึกษาถึงทางเดินของพายุ บริเวณที่ถูกภัยธรรมชาติ เช่น พายุลูกเห็บ บริเวณน้ำท่วมหรือบริเวณที่มักจะเกิดแผ่นดินไหวเป็นต้น เนื่องจากราคาของที่ดินจะสูงขึ้นถ้าบริเวณนั้นกลายเป็น
แหล่งอุตสาหกรรมหรืออาจจะเนื่องมาจากการค้นพบแร่ธาตุต่างๆ ขึ้นมา ดังนั้นแผนที่จำเป็นต้องทำขึ้นใหม่เพื่อความถูกต้อง
ด้านการพัฒนาวางแผนการเศรษฐกิจและสังคม ไม่ว่าโครงการนั้นจะเกี่ยวข้องกับการสงวนรักษาน้ำ การสร้างอ่างเก็บน้ำ ท่อน้า โรงงานกรองน้ำเสีย การขุดบ่อบาดาล หรือโครงการเกี่ยวกับกาองกันน้ำท่วม การสร้างคันคูและแหล่งที่จะเก็บกักน้ำ นอกจากนั้นในการพัฒนาด้านพลังงานและการสร้างเขื่อน โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า การวางสายไฟ ความปลอดภัยในการคมนาคมทางน้ำ การวางผังเมือง การคมนาคมขนส่ง การปลูกป่า แหล่งเพาะพันธุ์ปลาหรือการพัฒนาในเรื่องการใช้สินแร่และพลังงานเชื้อเพลิง การวางแผนเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพไม่ได้ ถ้าขาดการใช้แผนที่เข้าไปประกอบการพิจารณา เป็นต้น
ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีความจำเป็นต้องนักท่องเที่ยวมากในอันที่จะทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวได้ง่าย และสะดวกในการที่จะวางแผนการเดินทางหรือตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสม
ด้านการทหาร แผนที่มีความจำเป็นอย่างมากในการวางแผนยุทธศาสตร์, ยุทธวิธี   ถ้าขาดแผนที่หรือแผนที่ล้าสมัย ข้อมูลไม่ถูกต้อง การวางแผนอาจผิดพลาดได้ เป็นต้น
ประโยชน์ของแผนที่
1. ประโยชน์ทางด้านการเมือง แผนที่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการของรัฐมากมายหลายสาขา ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่และเห็นได้ชัด คือ งานด้านภูมิศาสตร์การเมือง งานด้านภูมิรัฐ-ศาสตร์ ไม่ว่าจะพิจารณาในด้านส่วนประกอบคงที่ หรือส่วนประกอบไม่คงที่ ที่เกี่ยวข้องกับภูมิรัฐศาสตร์ อันเกี่ยวกับการปฏิบัติการของรัฐในทางการเมือง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ นักภูมิรัฐศาสตร์จำเป็นต้องมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ชนิดหนึ่งซึ่งจะขาดมิได้ คือ แผนที่ จะสามารถบอกสภาพการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ได้อย่างกว้างขวาง สามารถวางแผนดำเนินการเตรียมรับ หรือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง เช่น กรณีเขาพระวิหาร
2. ประโยชน์ทางด้านการทหาร มีคำกล่าวในวงการทหารว่า แผนที่เป็นเครื่องมือรบชิ้นแรกของทหาร ในการพิจารณาวางแผนยุทธศาสตร์ทางการทหารของชาตินั้น จำเป็นต้องแสวงหาข้อมูล เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาก่อนการวางแผน ข้อมูลหรือข่าวสารที่เกี่ยวกับสภาพการ
ภูมิศาสตร์และตำแหน่งของสิ่งแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ต่างๆ ย่อมมีความสำคัญและจำเป็น แผนที่จึงเป็นเอกสารชิ้นแรกที่จะต้องจัดทำหรือจัดหาให้ได้มา เพราะแผนที่สามารถที่จะให้ข่าวสารโดยละเอียดถูกต้องแน่นอนเกี่ยวกับระยะทาง ตำแหน่งความสูง เส้นทาง ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ
3. ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องใช้แผนที่เป็นเครื่องมือในการวางแผนและในการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน เช่น การดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ำโขง ของสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และองค์การสหประชาชาติ แผนที่เป็นอุปกรณ์  ที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วนอันดับแรกที่จะต้องผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งาน เริ่มตั้งแต่ใช้งานในขั้นวางแผน ตลอดไปจนถึงขั้นปฏิบัติการตามแผน เพราะบริเวณดังกล่าวยังไม่มีแผนที่ที่มีคุณลักษณะเหมาะกับการดำเนินงาน แผนที่ที่จัดทำขึ้นจากโครงการนี้จะเป็นอุปกรณ์สำคัญยิ่งของเจ้าหน้าที่วางแผนและปฏิบัติการให้บรรลุตามเป้าหมาย เป็นต้น
4. เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แผนที่ถนน แผนที่ผังเมือง
5. เพื่อใช้ในการทหารด้านต่างๆ เช่น การเคลื่อนกำลังพล การจู่โจม การหาตำแหน่งข้าศึก ฯลฯ
6. เพื่อใช้ประกอบการค้นหาทรัพยากรธาตุที่อยู่บนพื้นโลก
7. เพื่อใช้ทางด้านวิศวกรและการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ
8. เพื่อใช้ศึกษาประกอบการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา สำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติเมื่อมีความจำเป็น
ประวัติแผนที่ประเทศไทย
ประวัติการทำแผนที่ของประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด คนไทยนิยมทำแผนที่ที่เรียกว่า ลายแทง หมายถึงแผนที่ที่นำไปสู่แหล่งมหาสมบัติ แต่แผนที่ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของความลับมีเก็บไว้เฉพาะตัว ไม่แพร่หลายเหมือนแผนที่ทั่วไปแผนที่ของไทย มีปรากฏอยู่ในแผนที่โลกของ ปโตเลมี ( ptolamy )เป็นนักปราชญ์ชาวกรีซที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่ง มีชีวิตอยู่ประมาณ ค.ศ 90 168 ได้รวบรวมความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ไว้ 8 เล่ม ชื่อ geographiaแผนที่ประเทศไทยนับว่าเก่าแก่ที่สุด คือ แผนที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ต้นกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893 1912 เริ่มจริงจังเมื่อรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือใน พ.ศ. 2418 ได้ทรงตั้งกองทำแผนที่ขึ้นตามคำแนะนำของ นายเฮนรี่ อาสาบาสเตอร์ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ และในปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลไทยได้จ้างชาวอังกฤษ คือ แมคคาร์ธี มาเป็นเจ้ากรมแผนที่ โดยมีการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมเพื่อโยงหลักฐานทางราบจากอินเดียผ่านพม่าเข้าสู่ไทยทางจังหวัดกาญจนบุรี ถึงกรุงเทพ ฯ และโยงต่อไปยังลาว เขมรในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลประสบปัญหาในเรื่องการขาดแคลนแผนที่ภูมิประเทศที่ใช้ในกิจการทหาร และการวางแผนป้องกันเพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2491 รัฐบาลอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือ โดย ส่งหน่วยงานทำแผนที่ มาทำการสำรวจและถ่ายภาพทางอากาศเพื่อทำแผนที่ภูมิประเทศ ขนาดมาตราส่วน 1 : 50,000 ทั่วประเทศ ซึ่งต่อมากรมแผนที่ได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงใหม่ และใช้ประโยชน์อยู่ในปัจจุบัน
 
แผนที่ของปโตเลมี ฉบับที่เขียนเมื่อ พ.ศ. 693 เรียกบริเวณที่ตั้งประเทศไทยปัจุบันว่า Aurea Khersonesus ชึ่งแปลว่า แหลมทอง (Golden Peninsular) การทำแผนที่ภายในเริ่มเมื่อปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2411 ได้มีการทำแผนที่บริเวณชายพระราชาอาณาเขตด้านตะวันตกของไทย เพื่อใช้กำหนดแนวเขตพรมแดนไทยกับพม่า ต่อมา พ.ศ. 2413 ได้ทำแผนที่กรุงเทพฯ และกรุงธนบุรี โดยชาวต่างประเทศเป็นผู้ทำความเจริญในการทำแผนที่ของประเทศไทย เริ่มจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2418 ได้ทรงตั้งกองทำแผนที่ขึ้นตามคำแนะนำของนายเฮนรี อาลาบาสเตอร์ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ โดยมุ่งประโยชน์ในการตัดถนนสายต่างๆ ในกรุงเทพฯ การวางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ ไปพระตะบอง และทำแผนที่ปากอ่าวเพื่อการเดินเรือ ใน พ.ศ. 2424 ได้จ้างชาวอังกฤษ คือ แมคคาร์ธี มาเป็นเจ้ากรมแผนที่ มีการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมจากประเทศไทยไปลาว-เขมร
ต่อมาได้ทำแผนที่มาตราส่วน 1 : 2,000,000 แสดงดินแดนประเทศไทย รวมทั้งลาว-เขมร และทำแผนที่บริเวณที่ราบภาคกลาง มาตราส่วน 1 : 100,000 งานทำแผนที่ของประเทศไทยระยะต่อมา พอสรุปได้ดังนี้  
1. พ.ศ. 2444 เริ่มสำรวจและทำแผนที่โฉนดขึ้นเป็นครั้งแรก
2. พ.ศ. 2447 มีการทำแผนที่ตามแนวพรมแดนด้านลาวและเขมรโดยชาวฝรั่งเศส
3. พ.ศ. 2453-2493 ทำแผนที่ทั่วไปภายในประเทศ เป็นแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ระยะเวลา 40 ปีนี้ทำแผนที่เสร็จประมาณ 50 %
4. พ.ศ. 2455 เริ่มสำรวจทำแผนที่ทางทะเล
5. พ.ศ. 2466 เริ่มงานสมุทรศาสตร์
6. พ.ศ. 2468 นายชัตตัน(N.Sutton) อาจารย์วิชาภูมิศาสตร์โรงเรียนสวนกุหลาบ ร่วมมือกับกรมแผนที่ทหาร ทำแผนที่เย็บเล่มขึ้นเป็นครั้งแรก
7. พ.ศ. 2495 เริ่มโครงการทำแผนที่ประเทศไทย ตามข้อตกลงระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเป็นการทำแผนที่มาตราส่วน 1: 50,000    ขึ้นใหม่ทั่วประเทศ
8. พ.ศ. 2504 กรมแผนที่ทหารได้ทำแผนที่เฉพาะวิชา มาตราส่วน 1 : 1,000,000 ขึ้น 10 ชนิด
9. พ.ศ. 2507 ปรับปรุงแก้ไขแผนที่เฉพาะให้ทันสมัยขึ้น และย่อส่วนเป็นมาตราส่วน   1 : 2,500,000
10. พ.ศ. 2510-2512 เป็นต้นมา ก็ปรับปรุงแก้ไขแผนที่เฉพาะวิชาชุดเดิม แล้วรวบรวมเป็นแผนที่เล่มมีคำอธิบายประกอบแผนที่เฉพาะแต่ละชนิด ทำให้สะดวกในการศึกษาและใช้เป็นอย่าง
แผนที่ในประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุดคือ
1.แผนที่ยุทธ์ศาสตร์รัชกาลพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่างปี 1893 -1912
2.การทำแผนที่ประเทศไทยเริ่มเมื่อ ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2411ได้มีการทำแผนที่ด้านทิศตะวันตกไทยกำหนดพรมแดนไทยกับพม่า
ข้อมูลจาก bp-smakom

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น