วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

รายชื่อประเทศ ในโลกนี้ 245 ประเทศ

รายชื่อประเทศ ในโลกนี้ 245 ประเทศ
This is an alphabetical list of countries of the world, including independent states.
1. Abkhazia               2. Afghanistan   3. Akrotiri and Dhekelia     4. Albania                              5. Algeria    
6. American Samoa   7. Andorra         8. Angola                             9. Anguilla                          10. Antigua and Barbuda
11. Argentina           12. Armenia        13. Aruba                           14. Ascension Island             15. Australia
16. Austria               17. Azerbaijan     18. Bahamas, The              19. Bahrain                            20. Bangladesh
21. Barbados           22. Belarus           23. Belgium                       24. Belize                               25. Benin
26. Bermuda           27. Bhutan           28. Bolivia                          29. Bosnia and Herzegovina  30. Botswana
31. Brazil               32. Brunei             33. Bulgaria                        34. Burkina Faso                    35. Burundi
36. Cambodia        37. Cameroon       38. Canada                          39. Cape Verde                       40. Cayman Islands
41. Central African Republic 42. Chad 43. Chile  44. China, People's Republic of    45. China, Republic of (Taiwan)
46. Christmas Island 47. Cocos (Keeling) Islands  48. Cote d'Ivoire – Republic of Cote d'Ivoire49. Colombia
50. Comoros   51. Congo, Democratic Republic of  52. Congo, Republic of  53. Cook Islands  54. Costa Rica
55. Croatia            56. Cuba              57. Cyprus                         58. Czech Republic                   59. Denmark
60. Djibouti          61. Dominica      62. Dominican Republic     63. Ecuador                               64. Egypt
65. El Salvador    66. Equatorial Guinea   67. Eritrea                 68. Estonia                                69. Ethiopia
70. Falkland Islands 71. Faroe Islands      72. Fiji                      73. Finland                                74. France
75. French Polynesia 76. Gabon               77. Gambia, The      78. Georgia                                79. Germany
80. Ghana                 81. Gibraltar            82. Greece               83. Greenland                             84. Grenada
85. Guam                 86. Guatemala         87. Guernsey           88. Guinea                                   89. Guinea-Bissau
90. Guyana              91. Haiti                  92. Honduras           93. Hong Kong                            94. Hungary
95. Iceland              96. India                  97. Indonesia           98. Iran                                        99. Iraq
100. Ireland            101. Isle of Man     102. Israel               103. Italy                                    104. Jamaica
105. Japan              106. Jersey              107. Jordan             108. Kazakhstan                         109. Kenya
110. Kiribati         111. Korea, Democratic People's Republic of 112. Korea, Republic of    113. Kosovo
114. Kuwait          115. Kyrgyzstan     116. Laos                117. Latvia                                  118. Lebanon
119. Lesotho        120. Liberia            121. Libya               122. Liechtenstein                       123. Lithuania
124. Luxembourg 125. Macao            126. Macedonia      127. Madagascar                          128. Malawi
129. Malaysia       130. Maldives        131. Mali                132. Malta                                    133. Marshall Islands
134. Mauritania   135. Mauritius        136. Mayotte          137. Mexico                                 138. Micronesia
139. Moldova      140. Monaco          141. Mongolia        142. Montenegro                          143. Montserrat
144. Morocco      145. Mozambique  146. Myanmar        147. Nagorno-Karabakh              148. Namibia
149. Nauru          150. Nepal              151. Netherlands    152. Netherlands Antilles            153. New Caledonia
154. New Zealand   155. Nicaragua   156. Niger             157. Nigeria                                  158. Niue
159. Norfolk Island  160. Northern Cyprus   161. Northern Mariana Islands   162. Norway  163. Oman        
 164. Pakistan         165. Palau          166. Palestine          167. Panama                                   168. Papua New Guinea
169. Paraguay        170. Peru            171. Philippines       172. Pitcairn Islands                       173. Poland
174. Portugal         175. Pridnestrovie 176. Puerto Rico    177. Qatar                                      178. Romania
179. Russia       180. Rwanda       181. Sao Tome and Pr?ncipe       182. Sahrawi Arab Democratic Republic
183. Saint Helena   184. Saint Kitts and Nevis   185. Saint Lucia    186. Saint Pierre and Miquelon
187. Saint Vincent and the Grenadines             188. Samoa             189. San Marino     190. Saudi Arabia
191. Senegal               192. Serbia                   193. Seychelles        194. Sierra Leone     195. Singapore
196. Slovakia             197. Slovenia               198. Solomon Islands199. Somalia            200. Somaliland
201. South Africa      202. South Ossetia        203. Spain                 204. Sri Lanka         205. State of Palestine
206. Sudan                207. Suriname               208. Svalbard           209. Swaziland         210. Sweden
211. Switzerland       212. Syria                     213. Taiwan              214. Tajikistan          215. Tanzania
216. Thailand            217. Timor-Leste         218. Togo                  219. Tokelau            220. Tonga
221. Trinidad and Tobago  222. Tristan da Cunha     223. Tunisia 224. Turkey             225. Turkmenistan
226. Turks and Caicos Islands  227. Tuvalu           228. Uganda    229. Ukraine            230. United Arab Emirates
231. United Kingdom     232. United States       233. Uruguay   234. Uzbekistan       235. Vanuatu
236. Vatican City   237. Venezuela     238. Vietnam  239. Virgin Islands, British240. Virgin Islands, United States
241. Wallis and Futuna    242. Western Sahara         243. Yemen         244. Zambia       245. Zimbabwe


ประวัติและความเป็นมาของแผนที่

ประวัติและความเป็นมาของแผนที่

ประวัติและความเป็นมาของแผนที่
ความหมายของแผนที่
แผนที่ คือ การนำเอารูปภาพของสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวของ มาย่อส่วนให้เล็กลง แล้วนำมาเขียนบนกระดาษหรือวัตถุที่แบนราบ สิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลกประกอบด้วยสิ่งที่เกิดเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลกแผนที่เป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่ง ที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการดำเนิน   กิจการงานต่างๆ ตลอดจนการศึกษาหาความรู้ทั้งในด้านวิชาการ และในด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน ตั้งแต่โบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน  สิ่งที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของผิวโลกทั้งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น โดยแสดงลงในพื้นราบเป็นกระดานหรือวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งที่แบนราบ ด้วยการย่อส่วนให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการ  การนำเอาภาพของสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลกหรือบางส่วน ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น มาย่อลงบนกระดาษหรือวัตถุที่แบนราบตามขนาดที่ต้องการ
มนุษย์รู้จักบันทึกสิ่งต่างๆ ลงบนแผนที่มาตั้งแต่สมัยโบราณ ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ ความสามารถในการทำแผนที่เป็นสัญชาติญาณอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ พฤติกรรมที่แสดงออกทาง แผนที่มีมานานแล้ว พวกเอสกิโมรู้จักการทำแผนที่ด้วยการใช้ไม้สลักติดลงบนหนังแมวน้ำแสดงแหล่งล่าสัตว์ ตกปลา ชาวเกาะมาร์แชลใช้เปลือกหอยแทนเกาะก้านมะพร้าว  แทนเส้นทางการเดินเรือละบริเวณที่มีคลื่นจัด พวก Nomad ที่เร่ร่อนทะเล
ทรายตามที่ต่างๆ จะใช้โดยขีดบนผืนทราย
แผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือ แผนที่ของชาวเมโลโปเตเมีย เมื่อ 2,300ปี ก่อนปีพุทธศักราช  ทำด้วยดินเหนียว แสดงกรรมสิทธิที่ดินแปลงหนึ่ง ขุดพบที่เมืองกาเซอรน์ บริเวณลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณลักษณะและรายละเอียดบนแผนที่แสดงบริเวณลุ่มน้ำซึ่งอยู่ระหว่างหุบเขา สัญลักษณ์ของภูเขาคล้ายเกล็ดปลาและยังบอกทิศทางไว้ที่ขอบของแผนที่ด้วย
สมัยกรีกโบราณ เป็นผู้วางรากฐานในการทำแผนที่ เริ่มด้วยการพิสูจน์ปี พ.ศ.323 ว่าโลกกลม และมีการวัดขนาดของโลกโดย อีแรโตสเตนีส (Eratosthenes) โดยใช้หลักทางคณิตศาสตร์ โดยสร้างเส้นสมมุติที่เรียกว่า เส้นขนานและเส้นเมอริเดียน
ต่อมาปี พ.ศ. 370 ปี ปโตเลมี (Claudius Ptolemy) นำเอาผลงานของอีแรโตสเตนีสมาปรับปรุงกำหนดค่ามุมของเส้นขนานและเว้นเมอริเดียน ต่อมาแผนที่ของปโสตเลมีได้หายสาบสูญไปเป็นเวลาถึง 1,500 ปี
การอ่านแผนที่ คือ การค้นหารายละเอียดบนภูมิประเทศ ซึ่งรายละเอียดบนภูมิประเทศ หมายถึงสิ่งต่างๆ บนผิวโลก ที่ปรากฏตามธรรมชาติ และสิ่งที่เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น
วัตถุประสงค์ของการศึกษาแผนที่
1. ศึกษาให้รู้จักรูปพรรณสัณฐานของรูปหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายโลกมากที่สุด ศึกษารูปทรงและขนาดของโลกโดยละเอียดถี่ถ้วน ทำให้เราทราบว่าโลกไม่ได้กลม แต่เป็นรูปทรงรีมีแกนยาวทั้งสองไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลก
2. ศึกษาให้รู้จักกำหนดตำแหน่งๆ ลงบนพื้นโลก หรือให้รู้จักสิ่งต่างๆที่อยู่บนพื้นโลก จากพื้นผิวโค้งถ่ายทอดไปยังพื้นผิวราบ
3. ศึกษาให้รู้จักการแสดงพื้นที่ของผิวโลก ตลอดจนรายละเอียดทั้งหมด โดยแสดงถึงสิ่งต่างๆ ที่ได้กำหนดตำแหน่งรายละเอียดไว้บนพื้นผิวโลกที่มีลักษณะผิวโค้งลงบนพื้นราบ
ความสำคัญของแผนที่
แผนที่เป็นสิ่งที่แสดงให้ทราบทั้งลักษณะของภูมิประเทศและการกระจายของกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ อีกด้วย เช่น  ด้านคมนาคม วิศวกรโยธาซึ่งทำงานเกี่ยวกับการสร้างทางหลวงการก่อสร้าง จำเป็นต้องมีแผนที่ ซึ่งแสดงถึงลักษณะภูมิประเทศ ปริมาณและชนิดของดินและหินตามบริเวณเส้นทางที่จะสร้าง การกระจายของน้ำฝน ตลอดทั้งอุณหภูมิของแต่ละฤดูกาล สภาวะการณ์ดังกล่าวและล้วนแต่มีผลต่อการพิจารณาในการสร้างทางหลวงว่าจะดำเนินการและใช้วัตถุต่างๆในการก่อสร้างอย่างไร
ด้านสาธารณประโยชน์ เช่น เพื่อใช้ในการวางแผนสร้างสถานีผลิตกระแสไฟฟ้าและการวางสายไฟ การประปา สายโทรศัพท์ และแหล่งที่จะทิ้งขยะมูลฝอย บริษัทประกันภัยก็ต้องใช้แผนที่เพื่อจะได้ศึกษาถึงทางเดินของพายุ บริเวณที่ถูกภัยธรรมชาติ เช่น พายุลูกเห็บ บริเวณน้ำท่วมหรือบริเวณที่มักจะเกิดแผ่นดินไหวเป็นต้น เนื่องจากราคาของที่ดินจะสูงขึ้นถ้าบริเวณนั้นกลายเป็น
แหล่งอุตสาหกรรมหรืออาจจะเนื่องมาจากการค้นพบแร่ธาตุต่างๆ ขึ้นมา ดังนั้นแผนที่จำเป็นต้องทำขึ้นใหม่เพื่อความถูกต้อง
ด้านการพัฒนาวางแผนการเศรษฐกิจและสังคม ไม่ว่าโครงการนั้นจะเกี่ยวข้องกับการสงวนรักษาน้ำ การสร้างอ่างเก็บน้ำ ท่อน้า โรงงานกรองน้ำเสีย การขุดบ่อบาดาล หรือโครงการเกี่ยวกับกาองกันน้ำท่วม การสร้างคันคูและแหล่งที่จะเก็บกักน้ำ นอกจากนั้นในการพัฒนาด้านพลังงานและการสร้างเขื่อน โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า การวางสายไฟ ความปลอดภัยในการคมนาคมทางน้ำ การวางผังเมือง การคมนาคมขนส่ง การปลูกป่า แหล่งเพาะพันธุ์ปลาหรือการพัฒนาในเรื่องการใช้สินแร่และพลังงานเชื้อเพลิง การวางแผนเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพไม่ได้ ถ้าขาดการใช้แผนที่เข้าไปประกอบการพิจารณา เป็นต้น
ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีความจำเป็นต้องนักท่องเที่ยวมากในอันที่จะทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวได้ง่าย และสะดวกในการที่จะวางแผนการเดินทางหรือตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสม
ด้านการทหาร แผนที่มีความจำเป็นอย่างมากในการวางแผนยุทธศาสตร์, ยุทธวิธี   ถ้าขาดแผนที่หรือแผนที่ล้าสมัย ข้อมูลไม่ถูกต้อง การวางแผนอาจผิดพลาดได้ เป็นต้น
ประโยชน์ของแผนที่
1. ประโยชน์ทางด้านการเมือง แผนที่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการของรัฐมากมายหลายสาขา ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่และเห็นได้ชัด คือ งานด้านภูมิศาสตร์การเมือง งานด้านภูมิรัฐ-ศาสตร์ ไม่ว่าจะพิจารณาในด้านส่วนประกอบคงที่ หรือส่วนประกอบไม่คงที่ ที่เกี่ยวข้องกับภูมิรัฐศาสตร์ อันเกี่ยวกับการปฏิบัติการของรัฐในทางการเมือง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ นักภูมิรัฐศาสตร์จำเป็นต้องมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ชนิดหนึ่งซึ่งจะขาดมิได้ คือ แผนที่ จะสามารถบอกสภาพการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ได้อย่างกว้างขวาง สามารถวางแผนดำเนินการเตรียมรับ หรือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง เช่น กรณีเขาพระวิหาร
2. ประโยชน์ทางด้านการทหาร มีคำกล่าวในวงการทหารว่า แผนที่เป็นเครื่องมือรบชิ้นแรกของทหาร ในการพิจารณาวางแผนยุทธศาสตร์ทางการทหารของชาตินั้น จำเป็นต้องแสวงหาข้อมูล เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาก่อนการวางแผน ข้อมูลหรือข่าวสารที่เกี่ยวกับสภาพการ
ภูมิศาสตร์และตำแหน่งของสิ่งแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ต่างๆ ย่อมมีความสำคัญและจำเป็น แผนที่จึงเป็นเอกสารชิ้นแรกที่จะต้องจัดทำหรือจัดหาให้ได้มา เพราะแผนที่สามารถที่จะให้ข่าวสารโดยละเอียดถูกต้องแน่นอนเกี่ยวกับระยะทาง ตำแหน่งความสูง เส้นทาง ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ
3. ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องใช้แผนที่เป็นเครื่องมือในการวางแผนและในการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน เช่น การดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ำโขง ของสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และองค์การสหประชาชาติ แผนที่เป็นอุปกรณ์  ที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วนอันดับแรกที่จะต้องผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งาน เริ่มตั้งแต่ใช้งานในขั้นวางแผน ตลอดไปจนถึงขั้นปฏิบัติการตามแผน เพราะบริเวณดังกล่าวยังไม่มีแผนที่ที่มีคุณลักษณะเหมาะกับการดำเนินงาน แผนที่ที่จัดทำขึ้นจากโครงการนี้จะเป็นอุปกรณ์สำคัญยิ่งของเจ้าหน้าที่วางแผนและปฏิบัติการให้บรรลุตามเป้าหมาย เป็นต้น
4. เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แผนที่ถนน แผนที่ผังเมือง
5. เพื่อใช้ในการทหารด้านต่างๆ เช่น การเคลื่อนกำลังพล การจู่โจม การหาตำแหน่งข้าศึก ฯลฯ
6. เพื่อใช้ประกอบการค้นหาทรัพยากรธาตุที่อยู่บนพื้นโลก
7. เพื่อใช้ทางด้านวิศวกรและการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ
8. เพื่อใช้ศึกษาประกอบการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา สำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติเมื่อมีความจำเป็น
ประวัติแผนที่ประเทศไทย
ประวัติการทำแผนที่ของประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด คนไทยนิยมทำแผนที่ที่เรียกว่า ลายแทง หมายถึงแผนที่ที่นำไปสู่แหล่งมหาสมบัติ แต่แผนที่ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของความลับมีเก็บไว้เฉพาะตัว ไม่แพร่หลายเหมือนแผนที่ทั่วไปแผนที่ของไทย มีปรากฏอยู่ในแผนที่โลกของ ปโตเลมี ( ptolamy )เป็นนักปราชญ์ชาวกรีซที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่ง มีชีวิตอยู่ประมาณ ค.ศ 90 168 ได้รวบรวมความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ไว้ 8 เล่ม ชื่อ geographiaแผนที่ประเทศไทยนับว่าเก่าแก่ที่สุด คือ แผนที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ต้นกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893 1912 เริ่มจริงจังเมื่อรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือใน พ.ศ. 2418 ได้ทรงตั้งกองทำแผนที่ขึ้นตามคำแนะนำของ นายเฮนรี่ อาสาบาสเตอร์ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ และในปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลไทยได้จ้างชาวอังกฤษ คือ แมคคาร์ธี มาเป็นเจ้ากรมแผนที่ โดยมีการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมเพื่อโยงหลักฐานทางราบจากอินเดียผ่านพม่าเข้าสู่ไทยทางจังหวัดกาญจนบุรี ถึงกรุงเทพ ฯ และโยงต่อไปยังลาว เขมรในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลประสบปัญหาในเรื่องการขาดแคลนแผนที่ภูมิประเทศที่ใช้ในกิจการทหาร และการวางแผนป้องกันเพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2491 รัฐบาลอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือ โดย ส่งหน่วยงานทำแผนที่ มาทำการสำรวจและถ่ายภาพทางอากาศเพื่อทำแผนที่ภูมิประเทศ ขนาดมาตราส่วน 1 : 50,000 ทั่วประเทศ ซึ่งต่อมากรมแผนที่ได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงใหม่ และใช้ประโยชน์อยู่ในปัจจุบัน
 
แผนที่ของปโตเลมี ฉบับที่เขียนเมื่อ พ.ศ. 693 เรียกบริเวณที่ตั้งประเทศไทยปัจุบันว่า Aurea Khersonesus ชึ่งแปลว่า แหลมทอง (Golden Peninsular) การทำแผนที่ภายในเริ่มเมื่อปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2411 ได้มีการทำแผนที่บริเวณชายพระราชาอาณาเขตด้านตะวันตกของไทย เพื่อใช้กำหนดแนวเขตพรมแดนไทยกับพม่า ต่อมา พ.ศ. 2413 ได้ทำแผนที่กรุงเทพฯ และกรุงธนบุรี โดยชาวต่างประเทศเป็นผู้ทำความเจริญในการทำแผนที่ของประเทศไทย เริ่มจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2418 ได้ทรงตั้งกองทำแผนที่ขึ้นตามคำแนะนำของนายเฮนรี อาลาบาสเตอร์ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ โดยมุ่งประโยชน์ในการตัดถนนสายต่างๆ ในกรุงเทพฯ การวางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ ไปพระตะบอง และทำแผนที่ปากอ่าวเพื่อการเดินเรือ ใน พ.ศ. 2424 ได้จ้างชาวอังกฤษ คือ แมคคาร์ธี มาเป็นเจ้ากรมแผนที่ มีการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมจากประเทศไทยไปลาว-เขมร
ต่อมาได้ทำแผนที่มาตราส่วน 1 : 2,000,000 แสดงดินแดนประเทศไทย รวมทั้งลาว-เขมร และทำแผนที่บริเวณที่ราบภาคกลาง มาตราส่วน 1 : 100,000 งานทำแผนที่ของประเทศไทยระยะต่อมา พอสรุปได้ดังนี้  
1. พ.ศ. 2444 เริ่มสำรวจและทำแผนที่โฉนดขึ้นเป็นครั้งแรก
2. พ.ศ. 2447 มีการทำแผนที่ตามแนวพรมแดนด้านลาวและเขมรโดยชาวฝรั่งเศส
3. พ.ศ. 2453-2493 ทำแผนที่ทั่วไปภายในประเทศ เป็นแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ระยะเวลา 40 ปีนี้ทำแผนที่เสร็จประมาณ 50 %
4. พ.ศ. 2455 เริ่มสำรวจทำแผนที่ทางทะเล
5. พ.ศ. 2466 เริ่มงานสมุทรศาสตร์
6. พ.ศ. 2468 นายชัตตัน(N.Sutton) อาจารย์วิชาภูมิศาสตร์โรงเรียนสวนกุหลาบ ร่วมมือกับกรมแผนที่ทหาร ทำแผนที่เย็บเล่มขึ้นเป็นครั้งแรก
7. พ.ศ. 2495 เริ่มโครงการทำแผนที่ประเทศไทย ตามข้อตกลงระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเป็นการทำแผนที่มาตราส่วน 1: 50,000    ขึ้นใหม่ทั่วประเทศ
8. พ.ศ. 2504 กรมแผนที่ทหารได้ทำแผนที่เฉพาะวิชา มาตราส่วน 1 : 1,000,000 ขึ้น 10 ชนิด
9. พ.ศ. 2507 ปรับปรุงแก้ไขแผนที่เฉพาะให้ทันสมัยขึ้น และย่อส่วนเป็นมาตราส่วน   1 : 2,500,000
10. พ.ศ. 2510-2512 เป็นต้นมา ก็ปรับปรุงแก้ไขแผนที่เฉพาะวิชาชุดเดิม แล้วรวบรวมเป็นแผนที่เล่มมีคำอธิบายประกอบแผนที่เฉพาะแต่ละชนิด ทำให้สะดวกในการศึกษาและใช้เป็นอย่าง
แผนที่ในประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุดคือ
1.แผนที่ยุทธ์ศาสตร์รัชกาลพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่างปี 1893 -1912
2.การทำแผนที่ประเทศไทยเริ่มเมื่อ ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2411ได้มีการทำแผนที่ด้านทิศตะวันตกไทยกำหนดพรมแดนไทยกับพม่า
ข้อมูลจาก bp-smakom