วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

world map1-3




วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แผนที่ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

                แบ่งออกได้เป็นดังนี้
ธงชาติของอินเดีย หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ (อินเดีย)พราหมณ์-ฮินดู (71%), พุทธ, คริสต์, ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, อิสลาม, ซิกข์
ธงชาติของบรูไน บรูไนอิสลาม (67%), พุทธ (13%), คริสต์ (10%), อื่นๆ (ความเชื้อพื้นเมือง ฯลฯ) (10%)
ธงชาติของสหภาพพม่า ประเทศพม่าพุทธนิกายเถรวาท (89%), อิสลาม (4%), คริสต์ (4%), ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (1%), อื่นๆ (2%)
ธงชาติของกัมพูชา กัมพูชาพุทธนิกายเถรวาท (95%), อิสลาม, คริสต์, ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, อื่นๆ (5%)
ธงชาติของเกาะคริสต์มาส เกาะคริสต์มาส (ออสเตรเลีย)พระพุทธศาสนา (36%), อิสลาม (25%), คริสต์ (18%), ลัทธิเต๋า (15%), อื่นๆ (6%)
Flag of the Cocos (Keeling) Islands หมู่เกาะโคโคส (ออสเตรเลีย)อิสลามนิกายซุนนีย์ (80%), อื่นๆ (20%)
ธงชาติของประเทศติมอร์ตะวันออก ติมอร์ตะวันออกคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (90%), อิสลาม (5%), คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (3%), อื่นๆ (พุทธ, พราหมณ์-ฮินดู, อื่นๆ) (2%)
ธงชาติของอินโดนีเซีย อินโดนีเซียอิสลาม (86.1%), คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (5.7%), คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (3%), พราหมณ์-ฮินดู (1.8%), อื่นๆ รวม พุทธ, ไม่ระบุ (3.4%)[2]
ธงชาติของลาว ลาวพุทธนิกายเถรวาท (65%) with ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (32.9%), คริสต์ (1.3%), อื่นๆ (0.8%)
ธงชาติของมาเลเซีย มาเลเซียอิสลาม (60.4%), พุทธนิกายมหายาน (19.2%), คริสต์ (9.1%), พราหมณ์-ฮินดู (6.1%), ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (5.2%)
ธงชาติของปาปัวนิวกินี ปาปัวนิวกินีคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (27%), อีวานจีลิค ลูเทอแรน (20%), เธอะ ยูไนเต็ด เชิร์ช (12%), คริสต์นิกายเซเวนเดย์ แอดเวนติสต์ (10%), Pentecostal (9%), คริสต์นิกายอีแวนเจลิค (7%), คริสต์นิกายแองกลิกัน (3%), คริสต์นิกายอื่น ๆ (8%), อื่น ๆ (4%)
Flag of the Philippines ฟิลิปปินส์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (80%), อิสลาม (5%), คริสต์นิกายอีแวนเจลิค (2.8%), Iglesia ni Cristo (2.2%), Philippine Independent Church (Aglipayan) (2%), คริสต์นิกายอื่น ๆ (3%), อื่นๆ (ความเชื่อดั้งเดิม, พุทธ, ยิว, ไม่มีศาสนา, อื่นๆ) (5%)
ธงชาติของสิงคโปร์ สิงคโปร์พุทธ (42.5%), อิสลาม (15%), ลัทธิเต๋า (8%), คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (4.5%), พราหมณ์-ฮินดู (4%), ไม่มีศาสนา (15%), คริสต์ (10%), อื่นๆ (1%)
ธงชาติของไทย ไทยพุทธนิกายเถรวาท (94.6%), อิสลาม (4.6%), อื่นๆ (1%)ลักธิต่างๆ(0.05)
ธงชาติของเวียดนาม เวียดนามพุทธนิกายมหายาน (78%), คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (7%), พุทธนิกายเถรวาท (5%), ศาสนาจ๋าว ได่ (2%), คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (1%), อื่นๆ (ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, ลัทธิฮวา ห่าว, อิสลาม, ไม่มีศาสนา, อื่นๆ; 7%)
                 
                                          จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและการปะทุของภูเขาไฟอยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยดินแดนและหมู่เกาะด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของแผ่นดินใหญ่ และแม้ว่าโดยทางเขตแดนแล้ว หมู่เกาะอันดามัน จะเป็นของอินเดีย แต่ทางภูมิศาสตร์แล้วถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมทีเดียวเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยังหมายรวมอาณาเขตที่กว้างกว่านั้น รวมไปถึง ตอนใต้ของจีน ฮ่องกง และไต้หวันด้วย แต่เนื่องจากระยะหลังใช้หลักการแบ่งทางการเมือง ทำให้ส่วนดังกล่าวจึงถูกรวมเข้ากับบริเวณเอเชียตะวันออก
                                แผนที่ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แผนที่ทวีปเอเชีย


                                                   แผนที่ทวีปเอเชีย

แผนที่โลก


แผนที่โลก

แผนที่โลกปัจจุบัน


                                             แผนที่โลกปัจจุบัน



แผนที่โลกใหม่


แผนที่นี้ ภายใต้ชื่อ Future Map Of The World ถูกสร้างขึ้นเนื่องจากเมื่อปี 1978 (พ.ศ. 2521) นาย Gordon ได้มองเห็นภาพอนาคตของโลกเป็นครั้งแรก โดยก็มองเห็นตัวเอง อยู่สูงขึ้นไปในอวกาศแล้วมองกลับลงมาบนโลก หลังจากนั้นอีกหลายปีก็เห็นภาพเดิมอีกครั้ง ทำให้เข้าสามารถสร้าง แผนที่โลกในอนาคตขึ้นมาและพิมพ์ในปี พ.ศ.2525 โดยนาย Grodon เชื่อว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นในระหว่างปี 1998-2012(พ.ศ.2541-พ.ศ.2555) โดยเหตุการณ์จะเกิดจากต้นเหตุสำคัญคือแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดอันเนื่องมาจาก แผ่นทวีปของเปลือกโลกเคลื่อน โดยสภาพการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปในแต่

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

1. ลักษณะทั่วไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
               
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ระหว่างประเทศใหญ่ 2 ประเทศ คือ จีนกับอินเดีย ในอดีตทำให้เรียกดินแดนนี้ว่า เอเชียใน หรือเอเชียกลาง
                ส่วนคำว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นคำใช้ครั้งแรกในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
2. ที่ตั้ง
               
3. ขนาดที่พื้นที่
               
4. อาณาเขต
               

1. ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศจีน
                2. ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มหาสมุทรแปซิฟิก
                3. ทิศใต้ ติดต่อกับ มหาสมุทรอินเดีย
                4. ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ่าวเบ่งกอล หรืออ่าวเมาะตะมะ ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ประมาณ 4.6 ล้านตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์
ตั้งอยู่ในเขตร้อนระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับอ่าวเบงกอล หรือ ระหว่างประเทศอินเดียกับจีน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย โดยมีเส้นศูนย์สูตรผ่าน เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว และเกาะสุลาเวซี (ก.เซลีเบส) ประเทศอินโดนีเซีย

เผยวิกฤติน้ำท่วมโลก เกิดจากแกนโลกสลับขั้ว

                             แผนที่โลกใหม่ หลังปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)


แผนที่ประเทศไทยหลังจากปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ.2555)
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก moeipit.com

          โลกอาจถึงจุดวิกฤติ เหตุน้ำท่วมโลกปี 2012 อาจเกิดขึ้นจริง เนื่องจากแกนโลกสลับขั้ว โลกจะร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย

          ช่วงนี้ดูเหมือนว่าภัยพิบัติต่าง ๆ จะถาโถมมาสู่โลกอย่างต่อเนื่อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยเรา คงจะเห็นกันแล้วว่า วิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้นนับเป็นมหันตภัยที่ร้ายแรงที่สุดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งทำให้ผู้คนต้องเสียชีวิตและทรัพย์สินอย่างประมาณค่ามิได้ จนหลายคนคงจะคิดว่าใกล้ถึงเวลาที่น้ำจะท่วมโลกในปี 2012 จริง ๆ อย่างที่ทำนายไว้แล้ว!!!

          ทั้งนี้ กลุ่มผู้เชื่อในเรื่อง "วันน้ำท่วมโลก" อ้างอิงข้อมูลวิทยาศาสตร์ว่า ธารน้ำแข็งบริเวณหมู่เกาะกรีนแลนด์ ซึ่งตั้งในมหาสมุทรอาร์กติกทางเหนือกำลังละลาย ด้วยพื้นที่กว่า 2.2 ล้านตารางกิโลเมตร (ตร.กม.) มีน้ำแข็งกว่า 19 ร้อยล้านตัน น้ำแข็งกำลังละลายเป็นน้ำวันละ 1 ล้านตัน โดยจะไหลลงมาสะสมจนทำให้เกิดน้ำท่วมหนักในปี 2012

          ในขณะเดียวกัน คำทำนายจากกลุ่มนักวิจัยอวกาศก็กล่าวเช่นเดียวกันว่า หายนะน้ำท่วมทั่วโลกอาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากองค์การนาซา ได้คำนวณโดยใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เอาไว้ว่า "วันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2012 แกนโลกจะพลิกกลับขั้ว" หมายถึง ขั้วโลกเหนือจะพลิกมาอยู่ขั้วโลกใต้ ช่วงเวลานั้นโลกจะไม่มีพลังสนามแม่เหล็กออกมาป้องกันรังสีต่าง ๆ ทำให้พลังความร้อนสูง หรือ "เปลวสุริยะ" (solar flare) จากดวงอาทิตย์พุ่งตรงมายังโลก ทำให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายฉับพลัน

          ด้าน สุมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตนักวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซา ได้กล่าวถึงวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเอาไว้ว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะมีการเตือนภัยมานานกว่า 10 ปีแล้ว เนื่องจากระหว่างที่แกนโลกเคลื่อนตัวพลิกกลับขั้วจากเหนือไปใต้นั้น ส่งผลให้พลังสนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลง แกนโลกเอียงจาก 23.5 องศาเป็น 24.5 องศา ภาวะแปรปรวนของจักรวาลทำให้โลกร้อนระอุอย่างรวดเร็ว น้ำแข็งจากทั่วโลกละลายเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ยังจะเกิดพายุลมมรสุมและภัยธรรมชาติด้านต่าง ๆ

          อย่างไรก็ตาม ก็มีนักวิทยาศาสตร์ไทยบางกลุ่มที่ไม่ปักใจเชื่อเรื่องน้ำท่วมโลกดังกล่าว เนื่องจากพวกเขาวิเคราะห์ว่า น้ำท่วมประเทศไทยหนักขึ้นทุกปี สาเหตุหลักเกิดจาก

          1. พื้นที่ชายฝั่งทะเลไทยหายไปปีละประมาณ 10 เมตร และพื้นดินเป็นดินอ่อนมีการทรุดตัวอยู่ตลอดเวลา อีก 40 ปีข้างหน้าจะทรุดต่ำลงไปอีกประมาณ 30 เซนติเมตรทำให้น้ำท่วมง่าย

          2. ผลจากภาวะโลกร้อนเมื่อน้ำฝนเพิ่มมากขึ้นการระบายน้ำจึงไม่ทัน ยิ่งไปกว่านั้นพื้นที่ตามแนวชายฝั่งมักจะมีการสร้างตึกสูงหรือสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำไหล ทำให้ไม่มีช่องทางระบายน้ำออก

          ดังนั้น ปกติพื้นที่กรุงเทพฯ รับปริมาณน้ำฝนไหลผ่านได้ไม่เกิน 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ปี 2554 มีน้ำไหลผ่าน 4,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จึงส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วมอย่างหนัก



นายกอร์ดอน ไมเคิล สคัลเลียน

 

[15 สิงหาคม] แผนที่โลกใหม่ หลังน้ำท่วมโลก เป็นไปได้จริงหรือ?


          เรื่องที่กลายเป็นประเด็นสาธารณะ และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางที่สุดใน พ.ศ.นี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง "น้ำท่วมโลก" ที่จะกลายเป็น "วันสิ้นโลก" ตามที่มีผู้เคยทำนายทายทักไว้ว่า จะเกิดขึ้นในปี ค.ศ.2012 ผนวกกับในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มนุษย์โลกได้เผชิญกับสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน ๆ ก็ยิ่งทำให้คนตื่นตระหนกกับ "วันสิ้นโลก" มากขึ้นเป็นเท่าตัว ฉะนั้นแล้ว จึงไม่แปลก หากคนจะกลับมาพูดถึงเรื่อง "แผนที่โลกใหม่" (Future Map of the World) ที่เคยมีผู้ทำนายเอาไว้ล่วงหน้า ว่าจะเหลือประเทศใดบ้างหลังผ่านเหตุการณ์ภัยพิบัติของโลก ในปี ค.ศ.2012 ไปแล้ว

          และผู้ที่ทำนายเรื่อง "แผนที่โลกใหม่" ไว้ก็คือ นายกอร์ดอน ไมเคิล สคัลเลียน ชายชาวอเมริกัน ซึ่งเคยเกือบเสียชีวิตไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่กลับฟื้นขึ้นมาได้อย่างปาฏิหาริย์ หลังจากนั้น เขาก็อ้างว่าได้รับพรสวรรค์เรื่องการหยั่งรู้อนาคต และยังเคยทำนายเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้ถูกต้องหลายครั้ง เช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหวในลอสแองเจอลิส แคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ.1992 (พ.ศ.2535), เหตุการณ์แผ่นดินไหวในแลนเดอร์ส (Landers) และ บิ๊กแบร์ (Big Bear) แคลิฟอร์เนีย เมื่อ 17 มกราคม ค.ศ.1994 (พ.ศ.2537) รวมทั้งแผ่นดินไหวที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ.1995 (พ.ศ.2538) เป็นต้น

          สำหรับเรื่อง "น้ำท่วมโลก" นั้น นายกอร์ดอน บอกว่า ตนได้มองเห็นตัวเองอยู่สูงขึ้นไปในอวกาศ แล้วมองกลับลงมาบนโลกเห็นแผนที่ใหม่ของโลก จนเมื่อเวลาผ่านไปอีกหลายปี เขาก็ยังเห็นภาพเดิม ๆ อีก จึงได้สร้างแผนที่โลกใหม่ หรือ Future Map Of The World ขึ้นมา เมื่อปี ค.ศ.1978 (พ.ศ.2521) และจัดพิมพ์ในปี ค.ศ.1982 (พ.ศ.2525) โดยระบุว่า จะเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติใหญ่ ๆ ในโลกระหว่างปี ค.ศ.1998-2012 (พ.ศ.2541-2555) ทั้งแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด รวมไปถึงเหตุการณ์น้ำท่วมโลก จนทำให้หลายประเทศหายไปจากแผนที่โลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะประเทศที่เป็นเกาะอยู่แล้วจะจมน้ำทั้งหมด และมีประชากรหลงเหลือเพียงแค่ 10% เท่านั้น

          และเมื่อพิจารณา "แผนที่โลกใหม่" ของนายกอร์ดอนแล้ว จะเห็นได้ว่า แต่ละทวีปเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดย


ทวีปเอเซีย หลังปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)
ทวีปเอเชีย

          ได้รับผลกระทบหนักที่สุด เพราะอยู่ในแนว "วงแหวนแห่งไฟ" และเขตรอยต่อของเปลือกโลก นายกอร์ดอน ทำนายไว้ว่า จะเกิดน้ำท่วมใหญ่ตั้งแต่ประเทศฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ไล่ขึ้นไปถึงทะเลแบริ่งที่เป็นช่องแคบอยู่ระหว่างรัฐอะแลสกา กับประเทศรัสเซีย ทำให้เกาะของประเทศญี่ปุ่นจมทั้งหมด เหลือเพียง 2-3 เกาะเล็ก ๆ เท่านั้น เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ที่จะถูกน้ำกลืนไปทั้งหมด

          ส่วนไต้หวัน และเกาหลีส่วนใหญ่จะจมหายไปในทะเลด้วย ขณะที่แนวฝั่งของประเทศจีนจะเลื่อนเข้าไปในแผ่นดินอีกหลายร้อยไมล์ ด้านอินโดนีเซียจะเกิดเกาะใหม่ ๆ ขึ้นมา แต่เกาะที่มีอยู่ก่อนหน้าก็จะจมหายไปด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากแผ่นเปลือกโลกที่เคลื่อนตัว ทำให้เกิดการมุดตัว  ยกตัวของแผ่นดิน

          สำหรับประเทศไทย นายกอร์ดอน ทำนายไว้ว่า จะเหลือเพียงแค่ส่วนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน และภาคกลางตอนบนเท่านั้น จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ตาก จะกลายเป็นชายฝั่งทะเล ขณะที่จังหวัดที่ติดกับแม่น้ำโขง คือ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ มุกดาหาร นครพนม หนองคาย จะจมทะเลไปหมด และแม่น้ำโขงจะเปลี่ยนเป็นทะเลไปด้วย

          ขณะที่ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออก ภาคใต้ รวมทั้งมาเลเซีย สิงคโปร์ จะถูกน้ำท่วมจมหายไปจนหมดเช่นกัน


 
ทวีปออสเตรเลีย หลังปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)
ทวีปออสเตรเลีย

          ประเทศออสเตรเลียจะสูญเสียแผ่นดินไปประมาณ 25% เพราะน้ำท่วมชายฝั่งเกือลหมด และจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นมาที่นอกชายฝั่งที่บริเวณช่องแคบบาสส์เชื่อมกับเกาะทาสเมเนีย ส่วนประเทศนิวซีแลนด์ จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพราะเกิดจากการยกตัวของแผ่นดินที่เป็นผลมาจากการระเบิดของภูเขาไฟ และมีแผ่นดินบางส่วนเชื่อมต่อกับประเทศออสเตรเลียด้วย


 
ทวีปยุโรป หลังปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)
ทวีปยุโรป

          ประเทศฟินแลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์กจะถูกน้ำท่วม เหลือเพียงเกาะเล็ก ๆ น้อย ๆ นับร้อยเกาะ ขณะที่สหราชอาณาจักร ตั้งแต่สกอตแลนด์จนถึงช่องแคบจะจมหายไปในทะเลทั้งหมด เหลือเพียง 2-3 เกาะเล็ก ๆ เท่านั้น

          ประเทศรัสเซียจะแยกตัวออกจากทวีปยุโรป เพราะทะเลสาบแคสเปียน ทะเลดำ ทะเลคารา ทะเลบอสติก จะมารวมเข้าไว้ด้วยกัน กลายเป็นทะเลขนาดใหญ่แห่งใหม่ ถูกแบ่งด้วยเทือกเขาอูราล ยาวไปถึงแม่น้ำเยนิเซในไซบีเรีย ตรงนี้อุณหภูมิจะอบอุ่นขึ้น กลายเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ในอนาคต

          ประเทศบัลแกเรีย และโรมาเนียจะจมอยู่ใต้น้ำ เพราะทะเลดำขยายตัวไปรวมกับทะเลทางตอนเหนือ ประเทศฝรั่งเศสจมน้ำทั้งหมด เหลือแค่เกาะในกรุงปารีส และเกิดทางน้ำใหม่แยกประเทศสวิตเซอร์แลนด์ออกจากประเทศฝรั่งเศส ส่วนประเทศอิตาลี ซึ่งมีพื้นที่ต่ำอยู่แล้วจะจมน้ำทั้งหมด ยกเว้นนครรัฐวาติกันที่อยู่ที่สูงจะปลอดภัย และแผ่นดินสูง ๆ จะกลายเป็นเกาะ เกิดแผ่นดินใหม่ทอดยาวจากเกาะซิซิลิไปจนถึงเกาะซาร์ดิเนีย

          นอกจากนี้ นายกอร์ดอน ยังทำนายด้วยว่า จะเกิดสงครามศาสนาในดินแดนโปแลนด์ เรื่อยไปถึงตุรกี แต่สงครามจะยุติลงด้วยความบริสุทธิ์ของแผ่นดินโดยไฟและน้ำ ขณะที่ตุรกีด้านตะวันตกจะจมอยู่ในน้ำ เกิดแนวชายฝั่งใหม่จากเมืองอีสตันบูลถึงไซปรัส ส่วนใหญ่ของสมรภูมิในสงครามโลกครั้งที่สองจมลงสู่ใต้ทะเล ก่อให้เกิดเกาะเล็ก ๆ ขึ้น

ทวีปแอฟริกา หลังปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)
ทวีปแอฟริกา

          ทวีปแอฟริกาจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยมีแม่น้ำไนล์ซึ่งกว้างกว่าเดิมมากเป็นตัวแบ่งเขต โดยแม่น้ำไนล์นี้ จะวางอยู่ในรูปตัว Y ของกลางทวีป และไหลผ่านเส้นทางใหม่ คือ ไหลจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตรงปากแม่น้ำไนล์ ผ่านประเทศซูดาน และมีต้นกำเนิดแม่น้ำอยู่ที่เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้

          ขณะที่ทะเลแดง ซึ่งอยู่ตอนเหนือของทวีปจะขยายกว้างขึ้น ทำให้กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ และเกาะมาดากัสการ์เกือบทั้งหมดจมลงสู่ทะเล ทะเลสาบวิคทอเรียจะรวมเข้ากับทะเลสาบนยาซาไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดีย

          นอกจากนี้ ยังมีแผ่นดินใหม่เกิดขึ้นในทะเลอาหรับ บริเวณตอนใต้ของประเทศโอมาน และยังมีแผ่นดินขนาดใหญ่เกิดขึ้นบริเวณทางเหนือและตะวันตกของเมืองเคปทาวน์ด้วย


ทวีปอเมริกาเหนือ

          อ่าวฮัดสันในประเทศแคนาดาจะขยายตัวออกกลายเป็นทะเลปิดในประเทศ พื้นดินบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือจะต้องถอยร่นเข้ามาในแผ่นดินอีก 200 ไมล์ เพราะพื้นที่เก่าถูกน้ำท่วมไปจนหมด ส่วนชาวเมืองที่อาศัยแถบบริติชโคลัมเบีย และอะแลสกา จะต้องอพยพมาอยู่ในควิเบก ออนตาริโอ มานิโตบา ซาสแกนเซวัน แอลเบอร์ตา จะกลายเป็นศูนย์กลางผู้ที่รอดพ้นหายนะระหว่างการเปลี่ยนแปลงในตอนต้น

          ส่วนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นที่แรกของโลก โดยแผ่นทวีปอเมริกาเหนือจะเกิดการโก่งตัว เกิดหมู่เกาะแคลิฟอร์เนียขึ้นอีก 150 เกาะ ต่อมาแผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งที่มุดตัวลงไปใต้อีกแผ่นหนึ่ง จะทำให้เกิดแนวโก่งตัวและรอยแยก นำไปสู่อุทกภัย ทำให้ ฝั่งทะเลด้านตะวันตกหดลงไปทางตะวันออกสู่รัฐเนเบรสกา ไวโอมิง และโคโลราโด ส่วนทะเลสาบ เกรทเลค (ประกอบด้วยทะเลสาบสุพิเรีย, ฮูรอน, มิชิแกน, อิรี และออนแตริโอ) และแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์จะเชื่อมต่อเข้ากับแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ไหลลงสู่อ่าว

          ขณะที่ประเทศเม็กซิโก น้ำจะท่วมจากชายฝั่งเข้ามาในแผ่นดิน ทำให้คาบสมุทรแคลิฟอร์เนียกลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะ พื้นที่ส่วนใหญ่ของยูคาทาน พีนิซูลาจะหายไปในทะเล และจะเกิดภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ต่อเนื่องยาวนานถึง 25 ศตวรรษ

          ประเทศในอเมริกากลางและแคริบเบียนจะเกิดอุทกภัย จำนวนเกาะลดลง จะมีเส้นทางน้ำใหม่เกิดขึ้นจากอ่าวฮอนดูรัสไปออกที่เอลซัลวาดอร์ ส่วนคลองปานามาจะกลายเป็นคลองตัน


ทวีปอเมริกาใต้

          เนื่องจากมีหลายประเทศอยู่ในพื้นที่ "วงแหวนแห่งไฟ" ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทวีปอเมริกาใต้มากไม่แพ้ทวีปเอเชีย โดยจะเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดในประเทศเวเนซุเอลา โคลัมเบีย และบราซิล จะเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในลุ่มน้ำอะเมซอนที่ประเทศเปรู และโบลิเวีย กลายเป็นทะเลในภายในทวีป ส่วนประเทศซานวาดอร์ เซาเปาโล ริโอดอร์จาเนโร และบางส่วนของ อุรุกวัย จะจมหายไปในทะเล

          ส่วนเมืองซัลวาดอร์ เซาเปาโล ริโอเดอร์จาเนโร ของประเทศบราซิล และบางส่วนของประเทศอุรุกวัยจะจมหายไปในทะเล ขณะที่ประเทศอาร์เจนตินาจะเกิดทะเลปิดขึ้นในตอนกลางของประเทศ และยังเกิดแผ่นดินขนาดใหญ่ทางตะวันตกของทวีป บริเวณประเทศชิลี รวมทั้งเกิดทะเลปิดขึ้นในบริเวณนั้นอีกแห่งด้วย

          ดูจากคำทำนายของนายกอร์ดอนที่ระบุไว้เป็น "แผนที่โลกใหม่" นี้ ก็คงต้องยอมรับว่า หากเป็นจริงคงจะน่ากลัวไม่น้อย แต่ ณ วันนี้ เราก็ไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินไป เพราะนี่เป็นเพียงคำทำนายเท่านั้น ฉะนั้นแล้ว โปรดใช้ดุลพินิจในการไตร่ตรองคำทำนายต่าง ๆ จะดีที่สุดค่ะ



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

แผนที่ประเทศไทย 77 จังหวัด

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด (ทั้งนี้ไม่นับว่ากรุงเทพมหานครเป็นจังหวัด) จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางจังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ยังไงการเรียกติดปากว่าประเทศไทยมี 76 จังหวัดตามความเข้าใจทั่วไป และ บึงกาฬ คือ จังหวัดที่ 77

หลายๆคนที่เคยดูรายการเศรษฐีในสมัยนั้น ก็ยังตอบ76 แต่เป็นคำตอบที่ผิด ต้องตอบ 75 จังหวัด ไม่รวม กทม 

แผนที่น้ำท่วม กรณีเลวร้ายที่สุดของ อ. เสรี ศุภราทิตย์

นี่เป็นแผนที่กรณีเลวร้ายที่สุดที่น้ำจะท่วมกรุงเทพมหานคร โดย อ. เสรี ศุภราทิตย์ ที่ประมวลผลข้อมูลปัจจุบันออกมาเป็นแบบจำลองวิกฤตอุทกภัยในครั้งนี้